เมนู

สูตรที่ 10


[405] 159. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รัตนะ 2 อย่างนี้ 2 อย่าง
เป็นไฉน คือ รัตนะคืออามิส 1 รัตนะคือธรรม 1 ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
รัตนะ 2 อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดารัตนะ 2 อย่างนี้ รัตนะ
คือธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ 10

สูตรที่ 11


[406] 160. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสะสม 2 อย่างนี้
2 อย่างเป็นไฉน คือ ความสะสมอามิส 1 ความสะสมธรรม 1 ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ความสะสม 2 อย่างนี้ ความสะสมธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ 11

สูตรที่ 12


[407] 161. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไพบูลย์ 2 อย่างนี้ 2 อย่าง
เป็นไฉน คือ ความไพบูลย์แห่งอามิส 1 ความไพบูลย์แห่งธรรม 1
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไพบูลย์ 2 อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บรรดาความไพบูลย์ 2 อย่าง ความไพบูลย์แห่งธรรมเป็นเลิศ.
จบสูตรที่ 12
จบสันถารวรรคที่ 4

สันถารวรรคที่ 41



อรรถกถาสูตรที่ 1



วรรคที่ 4 สูตรที่ 1

(ข้อ 396) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การปูลาดด้วยปัจจัย โดยปกปิดช่องว่างคนและคนอื่น ชื่อว่า
อามิสสันถาร. การปูลาดด้วยธรรม ชื่อว่า ธรรมสันถาร.
จบอรรถกถาสูตรที่ 1

อรรถกถาสูตรที่ 2



ในสูตรที่ 2 (ข้อ 397) แปลกกันเพียงอุปสรรค
จบอรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3



ในสูตรที่ 3 (ข้อ 398) การหาอามิสมีประการดังกล่าวแล้ว
ชื่อว่า อามิสเอสนา. การหาธรรม ชื่อว่า ธรรมเอสนา.
จบอรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4



ในสูตรที่ 4 (ข้อ 399) แปลกกันเพียงอุปสรรค.
จบอรรถกถาสูตรที่ 4

อรรถกถาสูตรที่ 5



ในสูตรที่ 5 (ข้อ 400) มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

1. อรรถกถาแก้ไว้สั้น ๆ จึงเรียงติดต่อกันไปทั้งวรรค โดยลงเลขข้อสูตรกำกับไว้ด้วย.